0

อิฐบล็อค นาโน (Nano Block) อิฐบล็อคประหยัดพลังงาน อิฐบล็อคที่มีคุณภาพ

อิฐบล๊อค นาโน (Nano Block)

ยินดีต้อนรับท่านเข้าสู่เว็ปโซลูชั่น อิฐบล๊อค นาโน (Nano Block) ซึ่งเป็นนวัตกรรมการก่อสร้างแบบใหม่ที่เป็นการทำให้ขบวนการก่อสร้างที่ยาวนานและซับซ้อนทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น รวดเร็วขึ้น ประหยัดขึ้น เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ สร้างได้เอง (DIY) 

 


 
 
สนใจลงทุนเป็นตัวแทนผลิตประจำจังหวัด   สนใจซื้อโมลด์ไปสร้างเอง
 
คุณสมบัติอิฐบล็อค นาโน (Nano Block)
วัสดุประกอบ :          คอนกรีต (ซีเมนต์, ทรายหยาบ, หินเกร็ด, น้ำ, วัสดุอื่นๆ)
ขนาด :                   20.00 x 40.00 x 18.00 ซม. (กว้าง x ยาว x สูง)
ขนาดรูกลมภายใน :   11.00 x 13.00 ซม. จำนวน 2 รู
น้ำหนัก :                 15.00 กก./ก้อน (รุ่นคอนกรีตผนังรับแรง)
                             5.00 กก./ก้อน (รุ่นคอนกรีตเบา)
รับน้ำหนักกด :           >15.00 ตัน/ก้อน (รุ่นคอนกรีตผนังรับแรง)
ขบวนการผสม   :       ผสมเปียก (Wet Process)
อิฐบล็อค นาโน (Nano Block) เหมาะสำหรับ
ออกแบบพัฒนามาสำหรับบ้านพักอาศัยขนาด 1-2 ชั้น และสิ่งปลูกสร้างขนาดเล็ก เช่น
• บ้าน 1 ชั้น                   • งานขนาดเล็ก
• บ้าน 2 ชั้น                   • ร้านค้า
• รีสอร์ท                       • ฟาร์ม
• ห้องเช่า                      • ห้องเก็บของ
• โรงแรม                      • กำแพงกันดิน
• รั้ว                             • สำนักงานขนาดเล็ก
• ฝ่ายกั้นน้ำขนาดเล็ก       เช่น ร้านหมอฟัน, สำนักงานออกแบบ,
• โรงรถ                            สำนักงานบัญชี, กฎหมาย เป็นต้น

หากมีการนำไปใช้งานด้านอื่นๆ หรือ สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ จำเป็นจะต้องปรึกษากับวิศวกรโยธาก่อนเสมอ
ผลทดสอบคอนกรีตบล็อกประหยัดพลังงาน

 ผลทดสอบจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน                ผลการทดสอบจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
สูตรผสมอิฐบล็อค นาโน อิฐบล็อค นาโน เป็นอิฐบล็อค คอนกรีตที่ใช้ส่วนผสมของซีเมนต์เป็นวัสดุหลักของอิฐบล็อค และใช้วัสดุผสมละเอียดและหยาบได้ตามวัสดุในท้องถิ่นเพื่อให้ได้ราคาประหยัดสุด ลดปริมาณวัสดุเหลือเศษ และมลพิษ ตามความต้องการของลูกค้า

วัสดุเหลือเศษทางการเกษตรและอุตสาหกรรม สามารถนำมาเป็นวัสดุผสมของอิฐบล็อค นาโน ได้เป็นอย่างดี เช่น ฟางข้าว แกลบ ขี้เลื่อย เศษโฟม เศษกระดาษ
เศษแก้ว เศษพลาสติก เป็นต้น

ซึ่งอิฐบล็อค นาโน สามารถออกแบบส่วนผสมให้เป็นคอนกรีตได้หลายระดับความแข็งแรง และ มีน้ำหนักแตกต่างกันไปแต่ละสูตร ตามลักษณะการใช้งาน

หากลูกค้ามีปริมาณวัสดุเหลือเศษจำนวนมากและมีปริมาณมากพอในการใช้งาน สามารถ Request มาให้ออกแบบส่วนผสมโดยเฉพาะได้ โดยมีค่าใช้จ่ายในการวิจัยม
 
การสร้างบ้านอิฐบล็อค นาโน เป็นการก่อสร้างบ้านได้ง่ายกว่าแบบเดิมมาก เพราะเป็นการแยกการสร้างบ้านเป็นส่วนๆ
ทำให้สร้างได้ง่าย ด้วยช่างที่มีความชำนาญไม่มากและสามารถจ้างเหมาเป็นส่วนๆได้ง่าย เช่นงการของลูกค้า
 
1. ส่วนฐานราก และ พื้นอาคาร
2. ส่วนผนังรับแรง อิฐบล็อค นาโน
3. ส่วนหลังคา
4. ส่วนตกแต่งภายใน
   - เดินท่อร้อยสายไฟฟ้า และ ประปา
   - เดินฝ้าเพดาน
   - ปูพื้นอาคาร
   - ติดสุขภัณฑ์
   - ติดประตูหน้าต่าง
   - ทาสีน
 







 
ขั้นตอนการผลิตอิฐบล็อค นาโน

ขั้นที่ 1 เตรียมโมลด์
ทำความสะอาดโมลด์ให้สะอาด แล้วทาหรือพ่นน้ำยาถอดแบบ ไทย นาโน (Thai Nano Formwork Release Agent) สูตร น้ำ (Oil Based) พ่นหรือทาลงบนโมลด์ให้ทั่ว
โดยน้ำยาถอดแบบจะมีคุณสมบัติเป็นฟิลม์เคลือบโมลด์ ทำให้คอนกรีตไม่ติดโมลด์ ผิวคอนกรีตสวย ไม่มีน้ำมันหรือสีติด ง่ายและรวดเร็วในการถอดแบบ

โดยบริษัทฯได้ทำการทดสอบเปลี่ยนหลายวัสดุจนลงตัว เช่น
1. น้ำยาทาแบบสูตรน้ำ
2. น้ำมันพืช น้ำมันพืชใช้แล้ว น้ำมันมะพร้าว
3. น้ำมันเครื่องรถยนต์เก่า
4. น้ำมันพืช ผสมน้ำมันดีเซล
 • สามารถใช้แปรงทา หรือสเปรย์ด้วยเครื่องอัดลม (Air Compressor) ขนาดเล็ก ราคาประมาณ 7000 บาท (เครื่องเล็กกว่านี้ได้แต่จะใช้ทำคอนกรีต CLC ด้วยจะไม่เหมาะสม)
ในกรณีผลิตเพื่อการพาณิชย์แนะนำให้ใช้เครื่องปั๊มลม และกาพ่นแทนการใช้แปลงทา เพื่อความประหยัด
 • เมื่อทาน้ำมันลงบนโมลด์แล้วจะต้องใช้งานภายใน 1 ชั่วโมง หากเกินกว่านั้น ควรทาน้ำมันอีกรอบ
 • คว่ำหน้าโมลด์ด้านเป็นช่องลงด้านล่าง เพื่อให้น้ำมันไหลออก ในกรณีที่ทาน้ำมันมากเกินไป
 • โมลด์ 1 ชุด ประกอบด้วย โมลด์สีแดงและสีเหลือง

ข้อควรระวัง : หลีกเลี่ยงให้โมลด์หล่อคอนกรีตบล๊อคตากแดด หรือ แสงแดดส่องลงโดยตรงโมลด์ที่วางเก็บไว้ เนื่องจากแสงแดดจะทำให้พลาสติกกรอบและแตกหักได้ง่าย

 
 
ทาน้ำมันที่โมลด์

ขั้นที่ 2 การเรียงโมลด์เพื่อเทคอนกรีต์
ให้นำโมลด์มาเรียงกัน 2 แถว เรียงตามยาวอาคาร เพื่อให้ง่ายในการนำรถเข็น หรือ Folklift ใส่กะบะแล้วเทลงในโมลด์ ซึ่งจะทำให้ทำงานได้ง่ายและเขย่าคอนกรีตได้สะดวก
แต่ละแถวห่างกัน 1.5 เมตร เพื่อความสะดวกในการเข็นกะบะคอนกรีต

หากเป็นโรงเรือนที่แข็งแรงอยู่แล้ว สามารถใช้เครนรางผีเสื้อเพื่อช่วยยกกะบะปูน แล้วเลื่อนไปเทลงในโมลด์ได้เลย จะทำให้สะดวกและรวดเร็วที่สุด

ขั้นที่ 3 เทคอนกรีตลงในโมลด์์
  • ผสมคอนกรีตตามอัตราส่วนที่กำหนด และ ตามลำดับก่อนหลัง
  • เทคอนกรีตลงในโมลด์ให้เต็มแล้วหน้าโมลด์แล้ว ให้เขย่าโมลด์เพื่อไล่ฟองอากาศในคอนกรีตออก
  • สามารถเขย่าคอนกรีตเพื่อไล่ฟองอากาศด้วยมือ หรือ โต๊ะเขย่า ก็ได้ ในกรณีที่ใช้มือเขย่า ให้ใช้ค้อนยางทุบที่ข้างโมลด์ทั้งสองข้างเบาๆ
  • เมื่อเขย่าคอนกรีตแล้ว คอนกรีตจะยุบตัวเล็กน้อย ห้ามเติมคอนกรีตอีก (Top Up) เพื่อให้เนื้อคอนกรีตเสมอผิวโมลด์ คอนกรีตควรมีจะยุบตัวประมาณ 1-3 มม.



 
                                                 กรอกคอนกรีตลงในโมลด์                                  เขย่าโมลด์เพื่อไล่อากาศ 

 
ขั้นที่ 4 การเซ็ตตัว
 • เมื่อหล่อคอนกรีตเรียบร้อยร้อย ให้นำโมลด์ที่หล่อแล้วไปวางบนพื้นคอนกรีตเรียบได้ระดับ เพื่อปล่อยให้คอนกรีตแข็งตัว  
 • ไม่ควรย้ายโมลด์คอนกรีตภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อปล่อยให้คอนกรีตแข็งตัวให้สมบูรณ์เสียก่อน การขนย้ายระหว่างคอนกรีตกำลังแข็งตัว
  อาจทำให้เกิดการแตกร้าวภายในเนื้อคอนกรีตได้ (Microscopic Crack) อันเป็นผลให้คอนกรีตบล๊อคมีกำลังลดลง แต่ถ้าหากต้องการถอดแบบเร็วขึ้น
  ให้ใช้น้ำยาแข็งตัวเร็ว จะช่วยให้สามารถถอดแบบได้ไวขึ้น  
 • การหล่อคอนกรีตและการปล่อยให้คอนกรีตแข็งตัว ต้องหล่อภายในที่ร่ม เพื่อลดการสูญเสียน้ำ ในคอนกรีตที่เร็วเกินไป ซึ่งจะทำให้คอนกรีตไม่ได้กำลังแรงอัดตามมาตรฐาน

 


ขั้นที่ 5 การแกะโมลด์


 
 
ขั้นที่ 6 การบ่มอิฐบล็อค
หลังจากได้ทำการพึ่งอิฐบล็อคในร่มเป็นเวลา 1 วัน สามารถย้ายออกมากลางแจ้งได้ โดยสามารถวางเรียงเป็นชั้นๆได้ไม่เกิน 6 ก้อน ซึ่งควรรดน้ำให้เปียกชุ่ม
แล้วใช้แผ่นพลาสติกหนาคลุมให้มิดเพื่อลดการสูญเสียน้ำจากอิฐบล็อคเร็วเกินไป ซึ่งควรบ่มทิ้งไว้อย่างน้อย 7 วัน ก่อนจะนำไปใช้งานได้

 



การบ่มอิฐบล็อค โดยการรดน้ำแล้วใช้พลาสติกคลุมให้ทั่ว

 
บ้านอิฐบล็อคนาโน

ตารางเปรียบเทียบอิฐบล๊อค นาโน และผนังทั่วไป
 
  อิฐมอญ อิฐมวลเบา AAC อิฐบล็อคประสาน ซีเมนต์บล็อค อิฐบล็อค นาโน
(Nano Block)
หมายเหตุ
ประเภทผนัง ไม่รับแรง ไม่รับแรง รับแรง ไม่รับแรง รับแรง  
โครงสร้างอาคาร เสาคาน เสาคาน ไม่ต้องมีเสาคาน เสาคาน ไม่ต้องมีเสาคาน  
รากฐานอาคาร ใช้เสาเข็ม ใช้เสาเข็ม ไม่ต้องใช้เสาเข็ม ใช้เสาเข็ม ไม่ต้องใช้เสาเข็ม  
จำนวนประเภทวัสดุ 1 1 1 1 20  
จำนวนก้อน
ต่อตารางเมตร
120 ก้อน 8.33 ก้อน 40 ก้อน 12.5 ก้อน 13.5 ก้อน  
น้ำหนักต่อตารางเมตร 130 กก. 50 กก. 212-240 กก. 115 กก. 218กก. ไม่รวมปูนฉาบ
อัตราการสูญเสียวัสดุ 15-20% 5% น้อยกว่า 3 % 10-15% น้อยกว่า 2 %  
ความหนาของผนัง 10 ซม. 10-15 ซม. 12 ซม. 7 ซม. 18.5ซม.  
แหล่งผลิตวัสดุ โรงงานท้องถิ่น โรงงานจาก กทม. ท้องถิ่น โรงงานท้องถิ่น ผลิตได้เองในท้องถิ่น  
แรงงานก่อผนัง ช่างปูน ช่างปูน ช่างปูน ช่างปูน กรรมกร  
ความเร็วในการทำงาน ช้า เร็ว เร็ว ช้า เร็วมาก  
วัสดุก่อ ปูนก่อ ปูนก่อ ใช้ปูนกรอกลงรูอิฐ ปูนก่อ ใช้การหยอดปูนกาว  
ประเภทปูนฉาบ ปูนฉาบปกติ ปูนฉาบพิเศษ น้ำยาเคลือบ ปูนฉาบปกติ ปูนฉาบปกติ  
ฉาบปูน ต้องฉาบ ต้องฉาบ ฉาบไม่ได้ ต้องฉาบ ไม่ต้องฉาบก็ได้  
ฉาบปูนผนัง ทาสี ได้ ได้ ไม่ได้ ได้ ได้  
เสาเอ็นคานเอ็น คสล. ต้องมี ต้องมี ไม่ต้องมี ต้องมี ไม่ต้องมี  
การดูดซึมน้ำ สูง ปานกลาง สูง สูง ต่ำ  
การเป็นฉนวน
กันความร้อน
ไม่มี นิดหน่อย ดี ไม่มี ดีมาก  
วัสดุฉนวนกันความร้อน
เพิ่มเติมจากเดิม
ทำผนังเบา
เสริมภายในกำแพง
ทำผนังเบา
เสริมภายในกำแพง
ทำผนังเบา
เสริมภายในกำแพง
ทำผนังเบาเสริม
ภายในกำแพง
กรอกด้วยทรายหยาบ ผนังเบาภายใน + 300-400 บาท/ตร.ม.
การเจาะฝังท่อไฟฟ้า
ประปา ในผนัง
ต้องสกัดผนังอิฐ ต้องสกัดผนังอิฐ อิฐมีรู ต้องสกัดผนังอิฐ ง่ายเพราะร้อยสาย
ในรูบล็อคได้เลย
 
ความสามารถกันเสียง ไม่ได้ ดี ดี ไม่ได้ ดีมาก  
อัตราการทนไฟ ไม่ดี ดี ดี ไม่ดี ดีเยี่ยม  
การระบายอากาศจากผนัง ไม่ได้ ไม่ได้ ไม่ได้ ไม่ได้ ได้  
การเสริมกำลังให้
แข็งแรงพิเศษ
ไม่ได้ ไม่ได้ ไม่ได้ ไม่ได้ ได้(โดยการเสริมเหล็ก
ในผนังและเทคอนกรีต)
 
การยกพื้นชั้นล่าง
0.60-1.00 ม.
ต้องมีคานคอดิน ต้องมีคานคอดิน ต้องมีคานคอดิน ต้องมีคานคอดิน ไม่ต้องมีคานคอดิน  
ใช้งานได้หลากหลาย
ประเภท
ไม่ได้ ไม่ได้ ได้หลายประเภท ไม่ได้ ได้หลายประเภทมาก เช่น กำแพงกันดิน ถังเก็บน้ำ เป็นต้น
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม NO NO YES NO YES